วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555



โรคของกระต่ายและการป้องกันโรคในกระต่าย

1.    พาสเจอร์เรลโลสิส ( Pasturellosis ) เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในกระต่าย
โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา ( Pasturella multocida ) ซึ่งทำให้กระต่ายป่วย
และมีอาการแตกต่างกันตามอวัยวะที่เกิดติดเชื้อ ดังนี้
1.1      หวัด กระต่ายจะจามบ่อยๆมีน้ำมูกไหลออกจากช่องจมูก หายใจไม่สะดวก จมูกและเท้าหน้าจะเปียกชุ่ม
และมีน้ำมูกติดเนื่องจากกระต่ายใช้เท้าเช็ดหน้าเช็ดจมูก
1.2      ปอดบวม มักเกิดจากการเป็นหวัดแล้วลุกลามเข้าสู่ปอด กระต่ายจะหายใจลำบาก หอบ และอาจหายใจด้วยท้อง
ริมฝีปากและเปลือกตาจะมีสีคล้ำ ในระยะแรกจะมีไข้สูง เบื่ออาหารและนอนหมอบนิ่ง
ลูกกระต่ายถ้าเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะตาย สำหรับกระต่ายใหญ่จะมีโอกาสรอดเพียง 75%
ดังนั้นถ้าพบอาการเช่นนี้ในกระต่ายควรรีบนำกระต่ายไปพบสัตวแพทย์ทันที
1.3      ตาอักเสบ มักเกิดหลังจากที่กระต่ายเป็นหวัด เนื่องจากกระต่ายชอบใช้เท้าหน้าเช็ดจมูก
ทำให้เชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่ตาได้ง่าย อาการเริ่มแรกคือหนังตาและตาขาว อักเสบ บวมแดง บางครั้งมีหนอง
ส่วนแก้วตาจะอักเสบและขุ่นขาว ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ การรักษา ล้างตาให้สะอาดโดยใช้น้ำเกลืออ่อนๆ (0.85 %)
หรือน้ำยาล้างตา แล้วใช้ยาปฏิชีวนะในรูปครีม หรือใช้ยาหยอดตาของคนทาจนกว่าจะหาย
1.4      อัณฑะอักเสบ เกิดจากติดเชื้อที่อัณฑะ ทำให้ลูกอัณฑะขยายใหญ่ และมีหนองเมื่อจับที่อัณฑะจะรู้สึกร้อนกว่าปกติ
การอักเสบมักลุกลามไปที่อวัยวะเพศ ทำให้สามารถติดต่อได้โดยการผสมพันธุ์ การรักษามักไม่ได้ผลจึงควรตัดทิ้ง
1.5      มดลูกอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ ผนังมดลูกจะเกิดการอักเสบ
มีหนองภายในโพรงมดลูกและอาจพบหนองถูกขับออกมาทางอวัยวะเพศ มักมีไข้สูง เมื่อคลำตรวจจะพบว่ามดลูกขนาดใหญ่
การรักษาทำได้ยากมากและกระต่ายมักจะเป็นหมันจึงควรตัดทิ้ง
2.      สแตฟฟิลโลคอคโคซีส ( Staphylococcosis ) โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส
( Staphylococcus aureus ) ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการ ดังนี้
2.1     ฝีหนองใต้ผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือก
ส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา การรักษา ต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก
ขูดเปลือกฝีด้านในให้สะอาดแล้วทาด้วยทิงเจอร์ ไอโอดีน
2.2      เต้านมอักเสบ เต้านมจะร้อน บวมแดง มีไข้ กระต่ายตัวที่เป็นอย่างรุนแรง เต้านมจะมีสีคล้ำ เย็น และแข็ง
ถ้าพบอาการเช่นนี้ควรคัดทิ้งหรือถ้าไม่แน่ใจควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์
2.3     ข้ออักเสบ เกิดจากมีบาดแผลที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าแล้วเชื้อโรคลุกงามเข้าสู่ข้อเท้า ทำให้ข้อเท้าบวมแดง เจ็บปวด
กระต่ายอาจมีไข้และมักพบบาดแผลที่ฝ่าเท้า การรักษา ทำความสะอาดแผล แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน
ถ้ามีหนองในข้อจะรักษาได้ยาก และอาจจะเป็นต้องตัดขาเหนือข้อที่อักเสบ ควรป้องกันโดยการดูแลพื้นกรง
อย่าให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกมาตำเท้ากระต่าย
3.      โรคบิด (Coccidiosis) เกิดจากเชื้อโปรโตซัวพวกไอเมอร์เรีย ได้แก่ Eimeria stiedac , E. irresdua
, E. magna ฯลฯ การติดต่อจะเกิดจากโอโอซิส (Oocyst) ของเชื้อที่ปนมากับอาหารและน้ำ อาการ
ถ้าเป็นน้องจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักพบในลูกกระต่าย จะทำให้น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน
และอาจทำให้ตายได้ การรักษา เลือกใช้ยาในกลุ่มซัลฟา ( Sulfa ) หรือแอมโปรเลียม ( Amprolium )
4.      โรคทิซเซอร์ (Tizzer's disease) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ แบซัลลัส ฟิลลิฟอร์มิส ( Bacillus pilliformis )
มักพบในกระต่ายที่มีอายุ 7 - 12 สัปดาห์มากที่สุด อาการ ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด ในรายที่เกิดอย่างเฉียบพลันจะ
มีเลือดออกจากลำไส้ใหญ่ กระต่ายจะตายเนื่องจากเสียน้ำและเลือดมาก การรักษา ให้ยาออกซี่เตตร้าซัยคลิน (Oxytetracyclin)
ละลายน้ำให้กิน
5.      โรคติดเชื้อ อี.โค ไล (Colibacillosis) เกิดจากการเพิ่มจำนวนเชื้อ E.coli ในทางเดินอาหาร
กระต่ายจะมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงและตายได้ การรักษา แก้ไขตามอาการ อาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้
ให้น้ำเกลือ เพิ่มอาหารหยาบ
6.      เอ็นเทอร์โรท๊อกซีเมีย (Enterotoxemia) เกิดจากเชื้อคลอสติเดียม (Clostridium spp.)
ทำให้กระต่ายท้องเสียหรือตายอย่างเฉียบพลัน การรักษาเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออีโคไล
7.      ไรในหู (ear manage or ear canker) เกิดจากไรพวกโซรอบเตส แคนิคุไล (Psoroptes caniculi)
อาการ จะเห็นแผ่นสีน้ำตาลคล้ายขี้หูซ้อนเป็นชั้นๆที่ด้านในของใบหู ถ้าสังเกตดีๆจะพบตัวไรขนาดเล็กสีน้ำตาลจำนวนมาก
กระต่ายที่เป็นโรคนี้จะคันหูทำให้มันสั่นหัวและใช้เท้าเกาหู บางครั้งเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้มีหนอง
และมีกลิ่นเหม็น การรักษา ทำความสะอาดด้านในของใบหู เช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ( H2O2 )
แล้วทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถันให้ทั่ว ควรป้องกันโดยการตรวจหูกระต่ายเป็นประจำและทำความสะอาดกรงและอุปกรณ์การเลี้ยงเสมอๆ
8.      ไรที่ผิวหนัง ( skin manage ) เกิดจากไรพวก Sarcoptes scabei , var. cuniculi
, Notedes cati var. caniculi อาการ ผิวหนังเป็นสะเก็ดหนาและย่น ขนร่วง พบมากที่ปลายจมูก และขอบใบหู
การรักษา ขูดผิวหนังให้สะเก็ดหลุดออก ทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถัน ถ้ายังไม่หายควรปรึกษาสัตวแพทย์
การป้องกันและควบคุมทำเช่นเดียวกับโรคไรในหู


การป้องกันและควบคุมโรค


     โรคกระต่าย เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความเสียหายในการเลี้ยงกระต่ายเสมอไม่ว่าจะเลี้ยงกระต่ายมากน้อยเท่าใด
หรือมีการจัดการที่ดีเพียงใดก็ตาม การที่จะควบคุมโรคกระต่ายให้ได้ผลดี ควรเน้นที่การป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้น
และรักษาตั้งแต่กระต่ายเริ่มป่วยเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค และประหยัดค่ารักษา
สาเหตุของโรคมีทั้งสาเหตุที่เกิดจากตัวกระต่ายเองและสาเหตุภายนอก ซึ่งสาเหตุต่างๆนั้นอาจจำแนกได้ดังนี้
1.      สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ใกล้แหล่งเชื้อโรค มีพาหะของเชื้อโรคมาก อากาศที่ร้อนชื้อ
การระบายอากาศที่ไม่ดี เป็นต้น
2.      อาหารและน้ำที่ไม่เพียงพอหรือมีสิ่งเจือปนที่เป็นพิษต่อกระต่าย
3.      พันธุกรรม โรคหรือลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างสามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้เช่น ลักษณะฟันยื่น
4.      เชื้อโรค ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว พยาธิ เห็บ หมัด เหา ไรเป็นสาเหตุที่เด่นชัดและพบได้เป็นประจำ
2.      การป้องกันโรค ทำได้โดยพยายามลดสาเหตุของโรคให้เหลือน้อยที่สุด ได้แก่
1.      เลือกซื้อกระต่ายที่แข็งแรงและปลอดโรคมาเลี้ยง
2.      ดูแลกระต่ายให้อยู่สภาพที่สบาย สะอาด ได้รับอาหารและน้ำเพียงพอ ไม่ร้อนเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
3.      หมั่นตรวจและสังเกตลักษณะอาการของกระต่ายเป็นประจำ ถ้าพบกระต่ายป่วยควรแยกไปเลี้ยงในที่เฉพาะ
และทำการรักษาทันที ถ้าไม่สามารถรักษาได้ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์
สำหรับกระต่ายตัวอื่นที่ยังไม่ได้ป่วยควรดูแลเป็นพิเศษ และทำความสะอาดโรงเรือนให้บ่อยขึ้น
4.      ไม่ควรใช้ยาเอง ถ้าไม่มีความรุ้เพียงพอ ถ้าจะใช้ยาเองควรทำตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
และไม่ควรใช้ยาโดยไม่จำเป็นเพราะจะทำให้เชื้อโรคดื้อยา


พฤติกรรมของกระต่าย


การแสดงพฤติกรรมของกระต่าย
สิ่งที่มันต้องการบอกให้คุณรู้
การมีความรักและต้องการความเอาใจใส
หัวตก
อยากให้เพื่อนของมันหรือคุณมาทำความสะอาดให้มัน
เลียคุณ
มันชอบคุณมากเลย มันอยากจะเป็นเพื่อนกับคุณ
เอาจมูกมาดุนคุณ
อยากให้คุณมากอดและลูบหัวของมัน
หายใจแรง ๆ ใส่ขาของคุณ
ให้ความสนใจกับมันหน่อยนะ
ความสำราญใจ
กัดฟันเสียงดังกริ๊ก
อืม !!! มันชอบสิ่งที่ทำอยู่จังเลย
นอนราบลงเพื่อพักผ่อน
ชีวิตของมันช่างดีจังเลย
นอนตะแคงหรือหงายหลัง
ชีวิตของมันช่างดีมาก ๆ เลย
นอนหลับ
มันอยากพักผ่อน
หูลู่ไปด้านหลัง
มันมีความสุขและรู้สึกมั่นคงจังเลย
ความสงสัยและอยากรู้อยากเห็น
หูลู่ไปด้านหน้า
มันได้ยินเสียงอะไรบางอย่างอยู่ที่ตรงนั้น มันคืออะไรอ่ะ ???
หูลู่ไปด้านหลัง,ตัวเอียงไปด้านหน้า
มันกลัวที่จะเข้าใกล้
นั่งยอง ๆ
ฉันแค่อยากจะเห็นของในกล่องนั้น
การป้องกันตัวเองและการก้าวร้าว
หูลู่ไปด้านหลัง,คางยื่นไปด้านหน้า,ยกหางขึ้น
ควรระวังมากกว่านี้นะ
หูข้างหนึ่งลู่ไปด้านหน้า อีกข้างลู่ไปด้านหลัง
มันได้ยินสิ่งที่คุณพูดนะ แต่ตอนนี้ ยังไม่อยากสนใจอ่ะ
ทำจมูกฮึดฮัดและคำราม
มันไม่มีความสุขอย่างมากกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
การงับ
เรื่องของมัน คุณอย่าไปยุ่งนะ
การเข้าปะทะ
นี่แน่ะได้ตัวคุณแล้ว ฮ่าๆ มันแค่ล้อคุณเล่นนะ
ตีคุณด้วยอุ้งเท้าหน้า
หยุดเถอะ!!! มันไม่ชอบที่คุณทำเลย
การขออ้อนวอนขนม
กระต่ายมีการแสดงออกในการขอขนมที่แย่กว่าสุนัขมาก การให้ขนมมากเกินไป เพราะจะทำให้มันอ้วนและไม่แข็งแรงเท่ากับกระต่ายที่มีพฤติกรรมเรียบร้อย
การตื่นเต้น,มีความสุข,สนุกสนาน
เดินรอบ ๆ ตัวคุณ
คุณคือของรักของฉันนะ
กระโดดโลดเต้น
ความอิสระนี้ยอดเยี่ยมจริง ๆ เลย
ผงกหัวเร็ว ๆ
ดีจังเลย!!! ที่ได้พบคุณ
ผลักของเล่น
มันอยู่ในอารมณ์ที่อยากเล่นสุด ๆ
ความกลัว,ความไม่พอใจ
เดินด้วยขาหลัง
ที่นี่มีบางอย่างผิดปกติ
ตัวแข็ง
มันหวังว่าจะไม่มีใครเห็นมันอยู่ตรงนี้
วิ่ง
มันต้องการออกจากที่นี่เร็ว ๆ
หลบ,ซ่อน
มันไม่มั่นใจว่าจะปลอดภัยหากออกมาให้เห็น
เดินด้วยฝีเท้าหนักเวลาโกรธ
มันรู้สึกกลัว,แสดงอาการประหลาด ๆ หรือพยายามจะบอกคุณว่าสิ่งนี้อันตรายในความคิด ของมัน
การหนีบคนที่อุ้มมัน
ช่วยวางมันลงเถอะนะ
การได้รับความเจ็บปวด
กัดฟันเสียงดังมาก ๆ
มีบางอย่างที่เจ็บปวดมากในร่างกายของมัน
มันอยู่นิ่ง ๆ ในช่วงเวลาปกติและเวลาอาหารไม่มีการเคลื่อนที่ไปไหนเลย
มันรู้สึกแย่มาก กระเพาะอาหารของมันผิดปกติ
ตาถลน
มันไม่มีความสุขกับการอยู่ที่นี่!!!
การแสดงออกเกี่ยวกับอาณาเขตของมัน
การพูดคุยกับเพื่อน ๆ
นี่ฉันเองนะ!!!



1 ความคิดเห็น: